กล่องข้อความ: 		7-50100-001-219  		  ชื่อพื้นเมือง	:  หมีเหม็น, หมูเหม็น, อีเหม็น  ชื่อวิทยาศาสตร์	  ชื่อวงศ์	  ชื่อสามัญ	  ประโยชน์	:  สมุนไพรแก้ปวดกล้ามเนื้อ  แก้บิด  แก้คัน
บริเวณที่พบ : อาคาร3,4
ลักษณะพิเศษของพืช : สมุนไพร
ลักษณะทั่วไป : ไม้ต้นเรือนยอดแคบสูง รูปปิริมิดกิ่งก้านลู่ลม ใบเดี่ยวหอกแคบ ขอบใบเป็นคลื่น
ต้น : เป็นไม้ยืนต้น สูง 5 –15 เมตร
ใบ :
ใบเดี่ยวรูปไข่กลับ โคนใบแหลม เรียงกันแบบสลับ กว้าง 5-9 ซม. ยาว 10-20 ซม. สีเขียวเข้มใบมีขนด้านล่าง
ดอก :
ดอกเป็นดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบรวมหรือมี 1-3 กลีบ
สีเหลืองนวลมีเกสรจำนวนมาก
ผล :
ผลเป็นผลสด รูปทรงกลม เมื่อสุกเป็นสีม่วงเข้ม กินได้ รสหวานอมเปรี้ยว
ประโยชน์ :
สมุนไพรแก้ปวดกล้ามเนื้อ แก้บิด แก้คัน รากเป็นยาฝายสมานและบำรุง ต้นมียางเป็นยาฝายสมาน แก้บิดท้องเสีย
กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ( ต้มน้ำกิน) ทาแก้พิษแมลงกัดต่อย แก้ปวด บดเป็นผงผสมน้ำหรือน้ำนมคนทาแก้อักเสบและเป็นยาห้ามเลือด
ใบมีเยื่อเมือกมาก ใช้เป็นยาฝายสมาน แก้อาการระคายเองของผิวหนัง ตำเป็นยาพอกแผลเล็ก ๆ น้อย ๆ ผลกินได้และให้นำมัน
ประกอบด้วย LAUROSTARIN และ OLEIN ใชทำสบู่ได้ ตำเป็นยาพอกฝี เปลือกต้นพบ ALKALOID LAUROTETANINE
ตำรายสาไทย : ใช้รากแก้ปวดกล้ามเนื้อ เปลือกต้น แก้บิด แก้ปวดมดลูก ใบและเมล็ดตำพอกฝีแก้ปวด
ยาพื้นบ้าน : ใช้เปลือกต้นหรือรากผสมกับเมล็ดหรือผลน้อยหน่าที่แห้งคาต้น ฝนทารอบฝีให้รัดหนองออกมา
ลักษณะวิสัย

กลับหน้าหลัก
ลำต้น
ใบ

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้   หมีเหม็น , หมูเหม็น , อีเหม็น    รหัสพรรณไม้   7-50100-001-219